ประเด็นร้อน

'อำนาจ' บ่อเกิด 'คอร์รัปชัน'

โดย ACT โพสเมื่อ Mar 26,2018

- - สำนักข่าวโพสต์ทูเดย์ - -

 

สัมภาษณ์พิเศษ  โดย : ชัยรัตน์ พัชรไตรรัตน์สัมภาษณ์พิเศษ

 

ปัญหาการทุจริตคอร์รัปชั่นถือเป็นเรื่องหลักที่รัฐบาล พล.อ.ประยุทธ์ จันทร์โอชา นายกรัฐมนตรีและหัวหน้าคณะรักษาความสงบแห่งชาติ หรือ คสช. ให้ความสำคัญถึงขั้นกำหนดให้เป็นนโยบายเร่งด่วน หวังสะสาง กำจัด ประเด็นเหล่านี้ให้หมดไปจากประเทศไทย ทว่าระยะให้หลังกลับปรากฏปมดังกล่าวออกมาให้เห็นอย่างต่อเนื่องในรัฐบาลนี้

 

ต่อตระกูล ยมนาค ประธานอนุกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ ด้านการป้องกันการทุจริต ในคณะกรรมการต่อต้านการทุจริตแห่งชาติ (คตช.) ได้ฉายภาพรวมถึงปัจจัยอันเป็นปัญหาดังกล่าวผ่าน "โพสต์ทูเดย์" ว่าในฐานะที่ส่วนตัว ติดตามเรื่องการคอร์รัปชั่นและทำงานเกี่ยวกับเรื่องนี้มาเป็น 10 ปี ร่วมงานกับประชาชน ภาคประชาชน และทำงานร่วมกับองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน ในฐานะกรรมการกลยุทธ์ อย่างแรกต้องรู้สาเหตุมาจากอะไร

 

ต่อตระกูล ขยายความว่า เดิมสาเหตุช่วงหนึ่งมาจากประชาชนเกินครึ่ง ซึ่งมาจากการสำรวจทั่วประเทศ เมื่อประมาณ 6-7 ปีที่แล้ว มีแนวคิดที่ว่า โกงไม่เป็นไร ถ้าโกงแล้วทำให้ประชาชนมีความสุข ซึ่งหมายถึงได้รับส่วนแบ่งบ้าง ถ้าประชาชนเกินครึ่งบอกแบบนี้ หมายความว่ารัฐบาลไหนที่โกงแล้วเอามาแบ่งประชาชนก็เลือก ซึ่งก็เลือกจริงแล้วชนะจริง

 

"แต่วันนี้ประชาชนรู้ว่า รัฐบาลเข้าไปโกง สร้างความเสียหายให้กับประเทศมากมายมหาศาลและผลเกิดขึ้น รัฐบาลซื้อประชาชนได้ ก็ต้อง หาเงินโดยอ้างว่าได้ฉันทามติมาแล้ว มีอำนาจเต็มที่ สภาโหวต รับรองจะใช้เงินกี่แสนล้าน หรือกี่ล้านล้าน ก็มีรัฐสภารับรอง และประชาชนก็ไม่ว่าอะไร"

 

ต่อตระกูล ฉายภาพต่อว่า รัฐบาลก่อนมาถึงจุดไม่ฟังเสียงประชาชนหรือเสียงใคร และมาถึงจุดนี้ได้ก็เพราะข้าราชการคนที่จะขึ้นมาคือ ระดับอธิบดี หรือระดับต่างๆ ซึ่งขึ้นมาจากคนที่เป็นแนวทางของการเมือง ไม่ได้ดูความสามารถ โดยจะเห็นได้ชัดเจนคือ ตำรวจที่มีอำนาจใน 10 ปีที่ผ่านมา

 

"ขณะนี้ไม่มีนักการเมือง เราโทษประชาชน นักการเมือง แต่ตอนนี้ประชาชนเปลี่ยนแล้ว 70% จากเมื่อก่อนประชาชนบอกโกงได้ ตอนนี้ลดลงมาเรื่อยๆ เหลือ 5% จากผลสำรวจและผมเชื่อว่าน่าจะดีขึ้น นักการเมืองตอนนี้ไม่มีจะมาโกง หรือชี้อะไรไม่ได้ มีแต่รัฐบาลปฏิวัติ

 

ถ้าพูดแบบแฟร์ๆ รัฐมนตรีส่วนใหญ่ หรือ เกือบทั้งหมดแทบไม่มีข้อครหา โดยเฉพาะรัฐมนตรีมาจากภาคนักวิชาการ ที่เข้าไปช่วยรัฐบาล ซึ่งคิดว่าได้คนดีเข้าไป นักการเมืองไม่มี ประชาชนไม่มี เหลือแค่ก็ข้าราชการ ซึ่งเป็นส่วนหนึ่ง ที่โกง โดยเพาะเชื้อมาจากรัฐบาลที่มาจากการเลือกตั้ง"

 

ต่อตระกูล ยอมรับว่า เรื่องดังกล่าวนายกฯ เหนื่อยมากกับการแก้ไขปัญหา แต่เมื่อมีสั่งตามมาตรา 44 ฉบับที่ 69 ให้อำนาจทหารร่วมมือจังหวัดต่างๆ ปราบปรามเรื่องทุจริตคอร์รัปชั่น

 

มันได้ผล แต่พอสั่งไปตามหน่วยราชการต่างๆ กลับหายเงียบ รวมถึงรัฐวิสาหกิจอันเป็นผลพวงมาจากการตั้งบอร์ดของการเมือง

 

"จะเห็นว่าบางบอร์ดรัฐวิสาหกิจขนาดใหญ่ของประเทศ นักการเมืองไปเอาคนขายซีอิ๊ว หรือนักการเมืองท้องถิ่นขึ้นเวทีปราศรัยเก่ง เอามาเป็นกรรมการ แต่รัฐบาลก็ไม่ได้เข้าไปแทรกแซงอะไร ซึ่งจริงแล้วรัฐควรจะเข้าไปยุ่งในรัฐวิสาหกิจ โดยเฉพาะท่าอากาศยาน ซึ่งใช้เงินเป็นแสนล้านบาท โดยรัฐไม่สามารถเข้าไปยุ่งได้

 

นายกฯ เข้ามาปีแรก ใช้ระบบการตรวจสอบสาธารณะแบบประเทศอังกฤษที่เขาได้แนะนำมา ซึ่งเป็น 1 ใน 2 โครงการที่มีการใช้ระบบแบบนี้ ปรากฏ 3 ปี ไม่อะไรก้าวหน้า โดยระบบนี้คือ เปิดเผยข้อมูลขึ้นเว็บไซต์ตั้งแต่การเปิดประมูล ใครบ้างเข้ามาประมูล ใครชนะด้วยเงินเท่าไร ทีโออาร์เป็นอย่างไร แต่ไม่ทำ ดังนั้นต้องอาศัยประชาชนและคู่ค้าเข้าไปตรวจค้นหาข้อมูล เรา

 

ต้องการให้ข้อมูลเผยแพร่ เพื่อให้คนมีส่วนได้ส่วนเสียช่วยกันดู"

 

ต่อตระกูล สะท้อนภาพรวมจะเห็นว่าตอนนี้ เหลือเพียงข้าราชการ และเป็นที่น่าเชื่อถือ เช่น ครู อาจารย์ และพระ ใครมีโอกาสโกงได้ มีอำนาจโกงได้ โกงหมด ดูเหมือนว่าข้าราชการส่วนใหญ่ 95% ไม่โกงจริง แต่ต้องวงเล็บไว้ว่าไม่รู้ว่าเวลามีอำนาจแล้วจะโกงหรือไม่ ตอนนี้คนมีอำนาจเกือบ 70-80% โกง และรู้สึกไม่ผิด เพราะทำๆ กันมาอย่างนี้ ยกตัวอย่างเรื่องทำหลักฐาน ปลอมแล้วจ้างคนภายนอกมา เช่น กรณีโกงเงินคนจน ซึ่งทำกันจนคิดว่าไม่ผิด

 

ส่วนข้าราชการ หรือพนักงานรัฐวิสาหกิจ ที่โกงโดยร่วมมือกับนักธุรกิจทุจริตก็ยังมี ด้วยการไปยุยง อาทิ จากการซื้อเป็นการเช่า เพราะการซื้อจะมีความยุ่งยากกว่า แต่การเช่านั้นสามารถอ้างได้ว่ารัฐไม่ต้องแบกรับภาระในการดูแล แต่ถ้าเช่านั้นแค่ 2-3 ปี เท่ากับราคาซื้อ ถ้ามองกันในระยะยาวและเรื่องรัฐวิสาหกิจยังไม่มีใครเข้าไปดู แต่การทำได้แบบนี้เชื่อว่าต้องมีอิทธิพลเหนือนายกฯ

 

ส่วนมาตรการแก้ไขปัญหาดังกล่าว ต่อตระกูล

 

ยอมรับว่า ห่วงหลังจากนี้หากไม่มีอำนาจตามมาตรา 44 หรืออำนาจเด็ดขาดของนายกฯ และทหาร จำเป็นต้องใช้จุดสำคัญคือ พลังจากประชาชนที่ไม่ต้องการคอร์รัปชั่น ทว่า ไม่ได้สนับสนุนให้เกิดม็อบ แต่อยากให้ดำเนินการผ่านทางโซเชียล มีเดีย เพราะในยุคปัจจุบันถือว่าเร็วมาก และสามารถอธิบายลึกๆ ทำไมต้องสนับสนุน หรือมติโหวตทางอินเทอร์เน็ต ถึงแม้จะมีการปิดปาก แต่ก็ไม่สามารถทำได้ทั้งหมด

 

"เห็นได้จากโทรศัพท์มือถือมีการจำหน่ายมากกว่าจำนวนประชาชน ซึ่งมากกว่า 60 ล้านเครื่อง โดยบางคนอาจมีถึงสองเครื่อง อีกทั้ง โทรศัพท์รุ่นใหม่เป็นสมาร์ทโฟนเกือบหมด สามารถเล่นแอพพลิเคชั่นไลน์ เฟซบุ๊ก ถ่ายรูปส่งได้ เรายังไม่เคยเห็นเป็นล้านคนมาทำ เรื่องการต่อต้านการทุจริต

 

แต่เรารู้ว่าการโหวตนักร้องก็โหวตผ่านทางโทรศัพท์ บางครั้งเป็นแสนๆ คน แม้เสียเงินก็ยังโหวตเท่ากับว่าคนพร้อมแล้ว และไม่ได้สนใจแต่เรื่องบันเทิงอย่างเดียว เขาสนใจประโยชน์ของประเทศ ผมเชื่อว่าเรื่องนาฬิกา ถ้าเปิดโหวตอาจได้เป็นล้าน ถ้าเปิดระบบเต็มที่"

 

ขณะเดียวกัน จากการทำงานกับนายกฯ ตั้งแต่วันแรกที่ร่วมกับคณะรักษาความสงบแห่งชาติ (คสช.) ซึ่งเคยพูดกับนายกฯ เสมอ คือ ต้องเปิดเผยข้อมูลให้มากกว่านี้ และให้กรมบัญชีกลางเปิดเผยข้อมูลได้ เพื่อส่งให้นักสถิติมาวิเคราะห์ เพราะข้อมูลเป็นดิจิทัลสามารถขุดได้ เช่น บางจังหวัดเปิดให้ประมูล แต่มีเพียง 10 ราย บางคน ที่ได้เป็นกลุ่มไหนจะชัดเจน

 

นอกจากนี้ ถือเป็นที่เปลี่ยนแปลงสำคัญคือ ระบบบิ๊กดาต้าเอาข้อมูลเผยแพร่แบบโอเพ่นดาต้าคือ สามารถก๊อบปี้ไฟล์ ตอนนี้มีข้อมูล สำนักงานรัฐบาลอิเล็กทรอนิกส์ทำไปได้จำนวนมาก และ นายกฯ สนับสนุน โดยถ้ามองแง่ดีก็สามารถเรียกข้อมูลจากหน่วยงานต่างๆ มา ซึ่งรัฐบาลก็จะได้ดูและตรวจสอบควบคุมได้

 

อย่างไรก็ตาม หากมองในแง่ร้ายคือ ถ้าได้รัฐบาลไม่ดี หน่วยงานส่งข้อมูลมา แล้ว ส่งให้พวกตัวเองดู เพื่อไปหาประโยชน์จาก ข้อมูลและชุดข้อมูลนี้ห้ามเผยแพร่ ซึ่งเป็น เรื่องประชาชนต้องตามดู เพราะสากลถ้า เป็นเรื่องข้อมูลเกี่ยวกับสาธารณะต้องเปิดเผยเลยไม่ต้องขอ

 

ฉะนั้น ที่สำคัญต้องบัญญัติศัพท์คำว่า เรื่องการเปิดเผยข้อมูล โดยเฉพาะสื่อมวลชนต้องช่วยกันผลักดัน ข้อมูลสาธารณะต้องขึ้น เป็นโอเพ่นดาต้า และรัฐบาลต้องนำเสนอ เปิดเผยทันที ห้ามล่าช้า ไม่ต้องขอ ไม่ใช่ประมูลเสร็จแล้วถึงมารู้ว่าทีโออาร์เป็นอย่างไร เพราะทุกอย่างล้วนเป็นเงินประชาชนควรมีสิทธิได้ รับรู้ ยกเว้นเรื่องการจัดซื้ออาวุธแค่บอกเพียงใช้เงินจำนวนเท่าไร

 

คำขวัญหน่วยราชการ เปิดเผยทั้งหมดเป็นปกติ ตุกติกปิด หรือเปิดชักช้าให้น่าสงสัย และที่สำคัญอยากให้ประชาชนที่รู้เรื่องแต่ละด้านมาช่วยกันมากขึ้นกว่านี้ เพราะหากมีการเปิดเผยมากก็จำเป็นต้องมีจำนวนคนมาดูสรุป และต่อไปควรใช้ระบบเอไอมาช่วยตรวจจับความสุ่มเสี่ยงในแต่ละโครงการ ซึ่งขณะนี้ก็เริ่มทำไปแล้ว และจะเหนือกว่าพวกคิดทำการทุจริต

 

ตอนนี้เหลือเพียงข้าราชการ และเป็นที่น่าเชื่อถือ เช่น  ครู อาจารย์ และพระ ใครมีโอกาสโกงได้ มีอำ นาจโกงได้ โกงหมด ดูเหมือนว่าข้าราชการส่วนใหญ่ 95% ไม่โกงจริง แต่ต้องวงเล็บไว้ว่าไม่รู้ว่าเวลามีอำ นาจแล้วจะโกงหรือไม่ ตอนนี้คนมีอำ นาจเกือบ 70-80% โกง  และรู้สึกไม่ผิด เพราะทำ ๆ กันมาอย่างนี้ ยกตัวอย่างเรื่องทำ หลักฐานปลอมแล้วจ้างคนภายนอกมา เช่น  กรณีโกงเงินคนจน ซึ่งทำ กันจนคิดว่าไม่ผิด

 

 
 

 

 

 
 
 
 
 
 
 
 
 
 

#ACTองค์กรต่อต้านคอร์รัปชัน

 

Follow LINE: http://bit.ly/2luX9Dt
Follow Facebook: http://bit.ly/2z1Dxvw